Saturday, November 17, 2012

ข่าใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์   Alpinia galanga Sw.
อันดับ     Zingiberales
วงศ์        ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ     Galangal.
ชื่ออื่น    ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าหยวก เสะเออเคย สะเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สภาพแวดล้อมที่พบ  ดินโปร่งร่วนซุย
ประเภทไม้    ไม้พุ่มล้มลุก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

      ต้น  ไม้ล้มลุกที่มีอายุอยู่นานหลายปี ลักษณะลำต้นมีข้อและปล้องขาวอวบอ้วน เห็นชัดเจนอยู่ใต้ดินส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นก้านและใบ สูงประมาณ 1-2 เมตร เป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม

      ใบ  ลักษณะรูปไข่ยาวหรือรูปรีขอบขนาน - คล้ายใบพาย สีเขียวเข้มเป็นมีนออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้น บนดินซึ่งเป็นกาบของใบหุ้มลำต้น ใบกว้าง 5 - 11 ซม. ยาว 20-40 ซม. ปลายใบแหลม

     ดอก  ดอก เป็นช่อสีขาวแต้มด้วยสีแดงเล็กน้อยออกตรงปลายยอด ดอกช่อจัดอยู่ด้วยกันอยู่อย่างหลวม ๆ ช่อที่อ่อนมีกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ส่วนดอกสีขาวอมสีม่วงแดงนั้น จะบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน

      ผล  ลักษณะกลมและมีขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อแก่มีสีดำและมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายในมีรสขมเผ็ดร้อน
แหล่งที่พบ   พบได้ทั่วไป
ประโยชน์และความสำคัญ    
ประโยชน์ทางยา  เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหาร  การ ปรุงอาหารคนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก


งานวิจัย  กุหลาบ  จำวงศ์ลา  และจุฑาธิป  ภูมี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร( 2550 )

0 comments:

Post a Comment