Saturday, November 17, 2012

การใช้ข่า

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/slide%5Calpinia.jpg
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alpinia galanga (Linn.) Swartz.,
Languas galanga (Linn.) Stuntz.
ชื่อวงศ์
Zingiberaceae
ชื่ออังกฤษ
Galangal, False galangal, Greater galanga
ชื่อท้องถิ่น
กฏุกกโรหิณี, ข่าหยวก, ข่าหลวง, สะเอเชย, เสะเออเคย

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1.  ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
                    ข่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ โดยพบสารออกฤทธิ์ คือ cineole (1, 2), camphor (2, 3) และ eugenol (4)
2.  ฤทธิ์ขับน้ำดี
                    ข่ามี eugenol (5) ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี จึงช่วยย่อยอาหารได้
3.  ฤทธิ์ขับลม
                    ข่ามีน้ำมันหอมระเหย (6) ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
4.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ
                    ข่ามีสารออกฤทธิ์ คือ 1'-acetoxychavicol acetate (7), 1'-acetoxyeugenol acetate (7) และ eugenol (8) ช่วยลดการอักเสบ (7, 8) และตำรับที่มีข่าเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ลดอักเสบได้ (9, 10)
5.   ฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร
    ข่ามีสารออกฤทธิ์คือ 1'-acetoxychavicol acetate (11, 12) และ 1'-acetoxyeugenol acetate (11) จึงช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารได้ (11, 12)
6.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
                    สารสกัดข่าด้วยไดเอทิลอีเธอร์ ปิโตรเลียมอีเธอร์ และน้ำกลั่นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (13) ที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียดท้องได้ โดยพบ eugenol (14) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
7.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
                    สารสกัดข่าด้วยน้ำกลั่น (15, 16) เมทานอล (16) ไดคลอโรมีเทน (16) เฮกเซน (16) หรืออัลกอฮอล์ (17) สามารถฆ่าเชื้อรา คือ Microsporum gypseum (15-22), Trichophyton rubrum (15-19) และ Trichophyton mentagrophyte (15-17, 20-23) ที่เป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อนได้ โดยพบ 1'-acetoxychavicol acetate และ 1'-acetoxyeugenol acetate (23) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
8.  การทดลองทางคลินิกใช้รักษากลากเกลื้อน
                    ได้มีการศึกษาการรักษากลากโดยใช้ข่าเปรียบเทียบกับ tolnaftate พบว่าได้ผล (24)

                9. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ


                     9.1  การทดสอบความเป็นพิษ
                                    เมื่อฉีดสารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ      1 ก./กก. (25) และ 188 มก./กก.(26) เมื่อฉีดน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูตะเภา พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 0.68 มล./กก. (27) และเมื่อฉีดสารสกัดอัลกอฮอล์จากเหง้าข่าขนาด 100 มล./กก. เข้าช่องท้องหนูถีบจักรติดต่อกัน 7 วัน (17) หรือให้สารสกัด 50% เอทานอลทางปากหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร (28) พบว่าไม่เป็นพิษ  จากการทดสอบพิษเฉียบพลันโดยป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าข่าให้หนูถีบจักรในขนาด 0.5, 1 และ 3 ก./กก. พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย แต่เมื่อให้สารสกัดเดียวกันนี้กับน้ำดื่มในขนาด 100 มก./กก. ติดต่อกัน 3 เดือน    ทำให้หนูถีบจักรตาย 15% (29)
    9.2  พิษต่อเซลล์
                                   สารสกัดเมทานอลจากเหง้าข่าที่ความเข้มข้น 20 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ Raji (30) สาร galanolactone และ (E)-8b(17)-epoxylabd-12-ene-15,16-dial จากเหง้าข่าเป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ 9KB (31) ขณะที่สารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์นี้ (25, 26)
                   9.3  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
                                                  สารสกัดเหง้าข่าด้วยน้ำและน้ำร้อน ขนาด 0.5 มล./จานเพาะเชื้อ และเหง้าข่าสด ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และ M-45  (Rec-) (32) ทิงเจอร์ ขนาด 80 มคล./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA 98, 100 (33)

การใช้ข่ารักษาอาการแน่นจุกเสียด
1.  ใช้เหง้าสด 5 กรัม    หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม (34)
2.  กวนหัวข่าแก่ตำละเอียดกับน้ำปูนใส 2 แก้ว นำมาดื่ม (35)

การใช้ข่ารักษากลาก, เกลื้อน
1.  ใช้เหง้าสดกับเหล้าโรง หรือน้ำส้มสายชู หรือเหง้าสดตำแช่แอลกอฮอล์ทา (34)
2.  เอาข่าปอกเปลือกนิดหน่อย จุ่มเหล้าแล้วเอามาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน ทาแรงๆ ทำเช่นนี้ 4-5 วัน ก็จะหาย (36)
3.  เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบแล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อนจะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ;  ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ          2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด (37)
4.  เอาหัวข่าล้างให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่เหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 5 นาที แล้วทาที่มีผื่นคัน ;  อาการจะหายไป และถ้าแช่ค้างคืนจะใช้รักษาเกลื้อนได้ดี (38)
5.  ใช้ข่าสดตัดท่อนละ 1 นิ้ว ทุบให้แตกพอช้ำอย่าถึงกับละเอียด ใส่ถ้วยแช่เหล้าโรงประมาณ 1/4 ถ้วยชา ใช้สำลีชุบทาวันละครั้ง (39)
6.  ใช้หัวข่าแก่ๆ นำมาตำพอแหลก แล้วผสมเหล้าหรืออัลกอฮอล์ แช่ไว้ 1 คืน ใช้ทาแก้เกลื้อน หรือกลาก (40, 41)

เอกสารอ้างอิง
1.  Haginiwa J, Harada M, Morishita I.   Properties of essential oil components of aromatics and their pharmacological effect on mouse intestine.   Pharmacological studies on crud drugs. VII.   Yakugaku Zasshi 1963; 83: 624.
2.  Evans BK, James KC, Luscombe DK.   Quantitative structure-activity relationships and carminative activity.   J Pharm Sci 1978; 6: 227.
3.  Cabo J, Crespo ME, Jimenez J, Zarzvelo A.   The activity of the major components of their essential oils.   The spasmolytic activity of various aromatic plants from the province of granada.   I.   Plant Med Phytother 1986; 203: 213-8.
4.  Bennett A, Stamford IF, Tavares IA, Jacobs S, et al.   Studies on prostagglandins, the intestine and other tissues.   The Biological activity of eugenol, a major constituent of nutmeg (Myristica Fragrans).   Phytother Res 23 1988; 23: 124-30.
5.  Yamahara J, Kobayashi M, Saiki Y, Sawada T, Fujimura H.   Biologically active principles of crud drugs: Pharmacological evaluation of cholagogue substances in clove and its properties.   J Pharmacobio-Dyn 1983; 6(5): 281-6.
6.  Ross MSF, Brain KR.   An introduction to phytopharmacy.   London: Pitman Publishing Ltd., 1977, 158-176.
7.  Yu J, Fang H, Chen Y, Yao Z.   Identification of the chemical components of two Alpinia species.   Zhongyao Tongbao 1988; 13(6): 354-6.
8.  Dewhirst FE.   Eugenol, a prototype phenolic prostaglandin synthetase inhibitor, it's anti-inframmatory activity, it's effects on sheep vestebular.   Univ Rochester  1979: 191.
9. Sundari SKK, Valarmathi R, Dayabaran D, Mohamed PN. Studies on the anti-inflammatory activity of Gugula Thiktha Kashayam (GTK). Indian drugs 2001; 38(7) 380-2.
10. Venkataranganna MV, Gopumadhavan S, Mitra SK, Anturlikar SD. Anti-inflammatory activity of JCB, a polyherbal formation. Indian drugs 2000; 37(11): 543-6.
11. Matsuda H, Pongpiriyadacha Y, Morikawa T, Momotaro O, Yoshikawa M. Gastroprotective effects of phenylpropanoids from the rhizomes of Alpinia galanga in rats: structural requirements and mode of action. Eur J Pharmacol 2003; 471(1): 59-67.
12. Ogiso A, Kobayashi S. Antiulcer agents from Alpinia seeds. Japan Kokai  74 36, 817 1974; 3PP.
13. แสงจันทร์ เอี่ยมธรรมชาติ. การศึกษาผลของสมุนไพรบางชนิดในวงศ์ซิงกิเบอเรซี (Zingiberaceae) ต่อการเจริญของแบคทีเรียบางชนิด.        รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.
14. Okazaki K, Oshima S.   Antibacterial activity of higher plants.   XX.   Antimicrobial effect of essential oils.   (1).   Clove oil and eugenol.        J Pharm Soc Japan 1952; 72: 558-60.
15. Sindhuphak R, Tirnapragit A, Gindamporn A, Sindhuphuk W. The antifungal activity of some Thai plants. Thai J Hlth Resch 1992; 6(1): 9-20.
16.  ดำรง พงศ์พุทธชาติ. ผลยับยั้งของพืชสมุนไพรบางชนิดต่อเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.
17. ศมนีย์ ศุขรุ่งเรือง. การพัฒนาข่าเมื่อใช้เป็นยารักษาโรคกลาก ภาค 1 การทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อราและพิษของข่าสกัด. หนังสือรวบรวมผลงานการวิจัย โครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2525-2536.
18. Limsrimanee S, Sriratana S. Inhibitory action of some Thai herbians (medicinal plants) to fungi. Special Project for The degree of Bachelor of Pharmacy. Mahidol University, Thailand, 1983.
19. Achararit C, Punyayong W, Ruchatakomut E. Antifungal activity of some Thai medicinal plants. Special Project for The degree of Bachelor of Pharmacy. Mahidol University, Thailand, 1983.
20. Trakranrungsie N, Chatchawanchonteera A, Khunkitti W. Comparative anti-dermatophytic effect of Piper betle, Alpenia galanga and Allium ascalonicum extracts. The sixth JSPS-NRCT joint seminar: recent advances in natural medicine research, Bangkok, Thailand, Dec 2-4, 2003.
21. Chatchawanchonteera A, Suriyasathaporn W, Trakranrungsie N. Antifungal activity of Alpinia galanga and Allium ascalonicum extract.  Thai J Pharmacol 2003; 25(1): 85.
22. Ficker CE, Smith ML, Susiarti S, Leaman DJ, Irawati C, Arnason JT. Inhibition of human pathogenic fungi by members of Zingiberaceae used by the Kenyah (Indonesian Borneo). J Ethnopharmacol 2003; 85: 289-93.
23.  Jassen AM, Scheffer JJC.   Acetoxyhydroxychavicol acetate, an antifungal component of Alpinia galanga.   Planta Med 1985; 6: 507-11.
24.  Shaiphanich C, Wuthiudomlert M, Sawasdimongkol O, Saowakhont R.   Languas galanga cream for treatment of ringworm.   Report of medicinal plants for the primary health care project, 1984.
25. Bhakuni OS, Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Merotra BN.  Screening of Indian plants for biological activity. Part II.  Indian J Exp Biol 1969; 7: 250-62.
26. Dhawan BN, Patnaik GK, Rastogi RP, Singh KK, Tandon JS.  Screening of Indian plants for biological activity. VI.  Indian J Exp Biol 1977; 15: 208-19.
27. Chopra IC, Khajuria BN, Chopra CL.  Antibacterial properties of volatile principles from Alpinia galanga and Acorus calamus.  Antibiot Chemother 1957; 7: 378.
28. Qureshi S, Shah AH, Ageel AM.  Toxicity studies on Alpinia galanga and Curcuma longa.  Planta Med 1992; 58: 124-7.

0 comments:

Post a Comment