Saturday, November 17, 2012

ดอกข่า

ข่า

บ้านที่พิจิตร จะปลูกผักสวนครัวไว้ทานเองค่ะ ไม่ต้องซื้อ เช่น ข่า
ตะใคร้ ใบมะกรูด มะนาว กระเพรา ฯลฯ

เวลาเรากลับไปก็จะขนกลับมาที่กรุงเทพ เพื่อประหยัด แต่ขนมาเยอะ
เลยต้องนำมาขยายพันธุ์ นำข่า ตะใคร้ กระเพรา มาเพาะไว้หลังบ้าน มะนาวก็ลงกระถาง ไว้ที่ชั้น 2

วันนี้ขอนำเสนอ "ข่า"

ดอกข่า











ต้นข่า



เราว่ามองให้ดี ๆ ดอกข่าก็สวยน่ารักไม่แพ้กล้วยไม้เหมือนกันนะ มันอยู่ที่ว่าใครจะมองต่างมุมกันอย่างไรแต่เรามองว่าฟอร์มของมันสะดุดตาที เดียว ซ้ำยังนำมาลวกลิ้มได้อีกด้วยเราเคยกินแล้วแฮะ อร่อยดีเหมือนกัน

ข่าใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์   Alpinia galanga Sw.
อันดับ     Zingiberales
วงศ์        ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ     Galangal.
ชื่ออื่น    ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าหยวก เสะเออเคย สะเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
สภาพแวดล้อมที่พบ  ดินโปร่งร่วนซุย
ประเภทไม้    ไม้พุ่มล้มลุก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

      ต้น  ไม้ล้มลุกที่มีอายุอยู่นานหลายปี ลักษณะลำต้นมีข้อและปล้องขาวอวบอ้วน เห็นชัดเจนอยู่ใต้ดินส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นก้านและใบ สูงประมาณ 1-2 เมตร เป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม

      ใบ  ลักษณะรูปไข่ยาวหรือรูปรีขอบขนาน - คล้ายใบพาย สีเขียวเข้มเป็นมีนออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้น บนดินซึ่งเป็นกาบของใบหุ้มลำต้น ใบกว้าง 5 - 11 ซม. ยาว 20-40 ซม. ปลายใบแหลม

     ดอก  ดอก เป็นช่อสีขาวแต้มด้วยสีแดงเล็กน้อยออกตรงปลายยอด ดอกช่อจัดอยู่ด้วยกันอยู่อย่างหลวม ๆ ช่อที่อ่อนมีกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ส่วนดอกสีขาวอมสีม่วงแดงนั้น จะบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน

      ผล  ลักษณะกลมและมีขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อแก่มีสีดำและมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายในมีรสขมเผ็ดร้อน
แหล่งที่พบ   พบได้ทั่วไป
ประโยชน์และความสำคัญ    
ประโยชน์ทางยา  เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหาร  การ ปรุงอาหารคนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก


งานวิจัย  กุหลาบ  จำวงศ์ลา  และจุฑาธิป  ภูมี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร( 2550 )

"ข่า" สมุนไพรไทยใช้ดี



       "ข่า" เป็นพืชที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นต้มข่าไก่ ต้มยำ หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำพริกต่างๆ แม้จะไม่ได้ใช้เป็นส่วนประกอบหลัก แต่อาหารหลายๆ อย่างก็หากขาดข่าไปก็จะไม่ได้รสชาติที่อร่อยเหมือนเดิม โดยเราจะใช้เหง้าของข่า หรือส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินของข่ามาประกอบอาหาร โดยเนื้อในเหง้านี้จะมีสีขาว รสขมเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมฉุนที่เป็นเอกลักษณ์ของข่า
      
       สรรพคุณของข่า ซึ่งถือว่าเป็นสมุนไพรไทยอย่างหนึ่งนั้นก็มีหลายอย่าง โดยข่าจะช่วยไล่แก๊สในลำไส้ มีฤทธิ์ขับน้ำดี จึงช่วยย่อยอาหารได้ น้ำมันหอมระเหยในข่าจะช่วยขับลมในท้อง ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด โดยจะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ และแก้อาการจุกเสียดได้ด้วย
      
       คนโบราณใช้ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้วช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนั้นยังมีประโยชน์อื่นๆ เช่น รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน รักษาแผลสด แก้โรคหลอดลมอักเสบ อีกทั้งน้ำมันหอมระเหยจากข่ายังช่วยไล่แมลงได้อีกด้วย

ข่า Galanga

ข่า Galanga

galanga-0

ข่า,Galanga
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Alpinia galanga (L.) Willd.
ชื่อสามัญ : Galanga
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

galanga-1

ลักษณะใบของข่า

galanga-2

สรรพคุณของข่า :

1. เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม

2. แก้อาหารเป็นพิษ
3. เป็นยาแก้ลมพิษ
4. เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
-รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

-รักษาลมพิษ ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
-รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

galanga-3

สารเคมีที่พบในข่า : acetoxychavicol acetate,monoterene ,terpineol, terpenen,cineole, camphor, linalool,eugenol

สมุนไพร:ข่า



ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galangal (L.) Stuntz (Syn.Alpinia galaga(L.) Sw.)
ชื่ออื่น ๆ ข่าตาแดง ข่าหยวก
ลักษณะของพืช มีลำต้นเป็นเหง้าที่มีข้อ  และปล้องเห็นได้ชัดเจนอยู่ใต้ดิน  ส่วนที่อยู่บนดินอาจสูงได้ถึง 2 เมตร  ใบเป็นแบบสลับ  มีกาบใบหุ้มลำต้น  ใบรูปรีเกือบขอบขนานกว้าง 5-11 ซม. ยาว 20-40 ซม. เนื้อใบ 2 ข้างมักไม่เท่ากัน ปลายใบแหลมโคนใบคล้ายสามเหลี่ยม ดอกออกที่ยอดเป็นช่อยาว มีก้านช่อยาว 10-30 ซม. แต่ละดอกมีขนาดเล็ก เมื่อเป็นผล ผลมีรูปร่างรี และใหญ่ประมาณ 1 ซม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สดหรือแห้ง

สรรพคุณและวิธีใช้ 1.  แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง ใช้ขนาดเท่าหัวแม่มือ (สดประมาณ 5 กรัม แห้งประมาณ 2 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม
2.  ใช้รักษาโรคผิวหนัง (ชนิดเกลื้อน) ใช้เหง้าสดฝนกับเหล้าโรงหรือน้ำส้มสายชู หรือตำแล้วแช่แอลกอฮอล์

การขยายพันธุ์ ใช้เหง้า หรือที่เรียกว่า แง่งข่า
สภาพดินและฤดูที่เหมาะสม ชอบที่ดอนดินร่วนซุย  มีอาหารอุดม  มีความชุ่มชื้นเหมาะสม แต่ไม่ชอบน้ำขัง ฤดูปลูกที่เหมาะสมคือ ต้นฤดูฝน

การปลูก
เตรียมดินโดยขุดดินตากแดดไว้ให้ร่วนซุย  ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดกลบหน้าพอสมควร หลังจากตากดินแล้วจึงขุดกลับคืน  ย่อยดินเพื่อให้ร่วนซุยอีกครั้ง  หลังจากเตรียมดินดีแล้ว จึงขุดแง่งข่าจากกอแม่เดิม  โดยใช้ชะแลงแบ่งมาให้แง่งข่า ยาวประมาณ 1 คืบ พร้อมติดดินและรากด้วย  ฝังในหลุมที่ขุดไว้หลุมละ 2-3 แง่ง กลบดินเท่ากับความลึกของแง่งข่าที่ขุดจากที่เดิม รดน้ำให้ชุ่ม

การบำรุงรักษา
ตอนเริ่มปลูกควรรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง และหมั่นดูแลความชุ่มชื้นของดินอยู่เสมอ  เมื่อข่าเจริญดีแล้ว จึงรดน้ำ 2-3 วันครั้งก็ได้  การใส่ปุ๋ยไม่จำเป็น อาจใส่เดือนละครั้ง หรือไม่ใส่ก็ได้

รายการอาหารที่มี ข่า เป็นส่วนประกอบ


ส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารคือ ดองและเหง้าทั้งแก่และอ่อน โดยเหง้าอ่อนและดอกข่านำมาใช้เป็นผัก เหง้าแก่ซึ่งมีรสชาติเผ็ดร้อน ใช้เป็นเครื่องเทศปรุงรสและแต่งกลิ่นสำหรับน้ำพริก แกงหลายชนิด ผัดเผ็ด แกงไตปลา ในลาบต่างๆ ต้มยำ และต้มอื่นๆ เช่นต้มเครื่องในวัว ใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมาก เหง้าอ่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มข่าไก่
http://www.thaifoodtoworld.com/data/ingredient/ka1.jpg
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ยีสต์

รายการอาหารที่มี ข่า เป็นส่วนประกอบ

    ต้มยำกุ้ง
    ต้มข่าไก่
    ต้มข่าไก่
    แกงเขียวหวานไก่
    แกงมัสมั่นเนื้อ
    ไก่ผัดเผ็ด
    พะแนงไก่
    ข้าวผัดกะเพรา
    น้ำยาปลา

« ส่วนประกอบและเครื่องเทศในอาหารไทย

สรรคุณของข่า

        


ข่าเป็นพืชสมุนไพรและข่เก็ย ังเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นลงหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะภายนอกของลำต้นมีข้อ และปล้องเห็นได้ชัดเจน อยู่ใต้ดิน ส่วนที่เหนือดิน จะเป็นก้านและใบ สูงประมาณ 1-2 เมตร พืชชนิดนี้จะเป็นที่รู้จักกัน เป็นอย่างดี เพราะได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ ในการปรุงอาหารรับประทานได้นั้งเองค่ะ
ส่วนที่ใช้
เหง้าและลำต้นอ่อน ดอก

สรรพคุณ
1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น 3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม
4. ใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง
5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวดได้ค่ะ

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของข่า
 ข่าเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นกอ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีน้ำตาลอมแสดมีเส้นแบ่งข้อช่วงสั้นๆ เนื้อในเหง้ามีสีขาวรสขมเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนกับขิง มักมีกลิ่นหอมฉุน ข่าเป็นพืชใบเดี่ยว ใบยาวปลายใบมนขอบใบเรียบ ก้านใบยาวเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ดอกเป็นช่อสีขาวนวล ผลกลมสีแดงส้มมีรสเผ็ดร้อนนะค่ะ

ข่า สมุนไพรใกล้ตัว




ข่า สมุนไพรใกล้ตัว

ข่าเป็น สมุนไพรใกล้ตัวอีกชนิดที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากว่าข่านั้นเป็นสมุนไพรที่ปลูกง่ายและแพร่พันธ์ดีมากคนสมัยก่อนจึง มักนิยมปลูกไว้ใช้เป็นพืชผักหลังบ้าน เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร และทำยา ข่านั้นให้คุณค่าและประโยชน์ในหลายด้านไม่ว่าจะนำมาประกอบอาหารให้มีรสชาติ ที่หอมอร่อยหรือไช้เพื่อดับกลิ่นคาว หรือแม้แต่การนำมาทำเป็นยา ดังนั้นวันนี้เราจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับสมุนไพรอย่างข่ามาให้ได้รู้จักกัน มากขึ้นค่ะ
ประโยชน์
>> เหง้าของข่านั้นนำมาใช้โดยการใช้เหง้าสดตำ ให้ละเอียด เสร็จแล้วก็ให้นำมาผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้ดีทีเดียวค่ะ
>> หากใครที่มีอาการทางผิวหนังเช่น กลาก เกลื้อน ลมพิษ ก็ให้ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
>> สารสกัดที่ได้จากข่านั้นก็สามารถนำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ หรือจะใช้เป็นยาธาตุและยาขับลมก็ได้
>> เนื่องจากข่าเป็นสมุนไพรที่ให้น้ำมันหอมละเหยได้ดี จึงสามารถใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลงแค่นี้แมลงก็จะพากันหลีกลี้หนีหายไป
>>ผลของข่าที่เราเห็นกันนั้นก็มีสรรพคุณคล้ายกับเหง้านั่นก็คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด
การประกอบอาหารโดยใช้ข่า
ข่านอกจากจะมีประโยชน์ทางด้านสมุนไพรแล้วข่ายังนำมาเป็นเครื่องเทศที่ใช้ แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆได้ดีเช่นกัน นั่นก็คืออาหารจำพวก ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดได้
ขอบคุณบทความดีดีจาก : www.chuankin.com

การปลูกข่า

การปลูกข่า
การเพาะปลูก การปลูกข่า



ข่ามีสองชนิด คือ ข่าหยวกและข่าเหลือง(ที่สวนก็มี) ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตออกทางข้างรอบตัวของแม่หรือหัวที่ใช้ปลูกครั้งแรก ที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลายๆหน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก
ธรรมชาติ ของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุมากที่ความลึกประมาณ 15-30 ซม. มีความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์สม่ำเสมอ และต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง

การเตรียมดิน

- ควรไถเปิดหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 ซม. พร้อมกับใส่อินทรียวัตถุ แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ฯลฯ แล้วทำการไถย่อยให้ดินและอินทรียวัตถุเข้ากัน เพราะข่าชอบดินร่วนปนทราย เมื่อเวลาทำการย่อยสลายจะเป็นธาตุอาหารและอุ้มความชื้นได้ดี
- ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หากทำเป็นแปลง ให้ยกแปลงเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำขัง ขนาดกว้าง ยาวตามความเหมาะสม
-ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน

การเตรียมกล้าพันธุ์
วิธีที่ 1
- ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มี ข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ แต่ถ้ามีหน่อใหม่ติดมา ที่เพิ่งโผล่พ้นดินก็ให้เก็บไว้ สามารถนำไปปลูกต่อได้
- ล้างหัวพันธุ์ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ระวังอย่าให้รากช้ำ เพราะรากสามารถเจริญเติบโตได้ แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูก

วิธีที่ 2
-ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก
- นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม...หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม...หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป

การปลูก
-ขุด หลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึก 10 ซม. นำดินที่ขุดขึ้นมาคลุกกับเมล็ดสะเดา หรือใบสะเดาแห้ง สัก 1-2 กำมือ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักดีแล้วสัก 1 กระป่องนม ผสมดินปลูก พร้อมกับปรับหลุมให้เรียบ
- จากนั้นวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน
-ระยะการปลูก ควรจัดระยะระหว่างหลุม .80-1.00 ม. ระหว่างแถว 1.00-1.20 ม.
-หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที

การปฏิบัติและบำรุง
-หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้ง
-ให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ทุก 1-2 เดือน/ครั้ง แล้วรดด้วนน้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเองตามทันที
-ถ้า มีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกจะมีสีแดง บางรายอาจจะขุดขึ้นมารับประทานหรือนำไปขายเป็นข่าอ่อน แต่ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาหัวหรือแง่ง ก็ให้นำเศษฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุม เพื่อป้องกันแสงแดด แล้วปล่อยไว้ให้กลายเป็นสีเขียวเพื่อพัฒนาเป็นต้นใหญ่ต่อไป
-การที่เอา เศษวัชพืช เศษหญ้า เศษฟางมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนกอข่า เป็นการรักษาความชื้นหน้าดิน ซึ่งข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นหน้าดิน แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วย การเจริญเติบโตจึงจะสมบูรณ์และงาม
-การ ที่เราจะรู้ว่าข่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้สังเกตดูว่า ข่าจะมีการแตกหน่อใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบอวบอ้วนใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม[/color]การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าอ่อน ให้ขุดเมื่อเริ่มออกดอกชุดแรก โดยการเปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณที่จะเอาหน่อ แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการ
ข่า แก่ ให้ขุดเมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2 หรือมีหน่อเกิดใหม่ 5-6 หน่อ เมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2-3 ก็จะได้หน่อหรือแง่งที่แก่ขึ้นไปอีก ทั้งขนาดและปริมาณก็มากขึ้นไปด้วย
-การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี
-หลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-หลัง จากขุดเอาหัวหรือแง่งขึ้นมาแล้ว ต้องทำความสะอาดล้างเอาเศษดินที่ติดมาออกให้หมด แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อย จากนั้นให้นำไปแช่ลงในน้ำสารส้ม ซึ่งจะช่วยให้หัวข่าขาวสะอาด และเป็นการรักษาให้ข่าแลดูสดได้นานวัน
นอกจากนี้ การปลูกข่าแซมในสวนไม้ผล กลิ่นของใบข่าจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ส่วนหัวหรือแง่งก็ยังป้องกันแมลงศัตรูพืชใต้ดินได้อีกด้วย นอกจากนั้น ข่ายังทำให้สภาพอากาศโดยรอบเย็นสบาย มีสภาพร่มเย็น

ข้อมูล นินจาขาเป๋ แห่งบ้านตะเกียง
ประโยชน์ของ การปลูกข่า
ประโยชน์ทางยา
เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหารการ ปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า เป็นต้น
ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

การใช้ข่า

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/slide%5Calpinia.jpg
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alpinia galanga (Linn.) Swartz.,
Languas galanga (Linn.) Stuntz.
ชื่อวงศ์
Zingiberaceae
ชื่ออังกฤษ
Galangal, False galangal, Greater galanga
ชื่อท้องถิ่น
กฏุกกโรหิณี, ข่าหยวก, ข่าหลวง, สะเอเชย, เสะเออเคย

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1.  ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
                    ข่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ โดยพบสารออกฤทธิ์ คือ cineole (1, 2), camphor (2, 3) และ eugenol (4)
2.  ฤทธิ์ขับน้ำดี
                    ข่ามี eugenol (5) ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี จึงช่วยย่อยอาหารได้
3.  ฤทธิ์ขับลม
                    ข่ามีน้ำมันหอมระเหย (6) ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
4.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ
                    ข่ามีสารออกฤทธิ์ คือ 1'-acetoxychavicol acetate (7), 1'-acetoxyeugenol acetate (7) และ eugenol (8) ช่วยลดการอักเสบ (7, 8) และตำรับที่มีข่าเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ลดอักเสบได้ (9, 10)
5.   ฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร
    ข่ามีสารออกฤทธิ์คือ 1'-acetoxychavicol acetate (11, 12) และ 1'-acetoxyeugenol acetate (11) จึงช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารได้ (11, 12)
6.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
                    สารสกัดข่าด้วยไดเอทิลอีเธอร์ ปิโตรเลียมอีเธอร์ และน้ำกลั่นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (13) ที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียดท้องได้ โดยพบ eugenol (14) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
7.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
                    สารสกัดข่าด้วยน้ำกลั่น (15, 16) เมทานอล (16) ไดคลอโรมีเทน (16) เฮกเซน (16) หรืออัลกอฮอล์ (17) สามารถฆ่าเชื้อรา คือ Microsporum gypseum (15-22), Trichophyton rubrum (15-19) และ Trichophyton mentagrophyte (15-17, 20-23) ที่เป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อนได้ โดยพบ 1'-acetoxychavicol acetate และ 1'-acetoxyeugenol acetate (23) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
8.  การทดลองทางคลินิกใช้รักษากลากเกลื้อน
                    ได้มีการศึกษาการรักษากลากโดยใช้ข่าเปรียบเทียบกับ tolnaftate พบว่าได้ผล (24)

                9. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ


                     9.1  การทดสอบความเป็นพิษ
                                    เมื่อฉีดสารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ      1 ก./กก. (25) และ 188 มก./กก.(26) เมื่อฉีดน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูตะเภา พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 0.68 มล./กก. (27) และเมื่อฉีดสารสกัดอัลกอฮอล์จากเหง้าข่าขนาด 100 มล./กก. เข้าช่องท้องหนูถีบจักรติดต่อกัน 7 วัน (17) หรือให้สารสกัด 50% เอทานอลทางปากหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร (28) พบว่าไม่เป็นพิษ  จากการทดสอบพิษเฉียบพลันโดยป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าข่าให้หนูถีบจักรในขนาด 0.5, 1 และ 3 ก./กก. พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย แต่เมื่อให้สารสกัดเดียวกันนี้กับน้ำดื่มในขนาด 100 มก./กก. ติดต่อกัน 3 เดือน    ทำให้หนูถีบจักรตาย 15% (29)
    9.2  พิษต่อเซลล์
                                   สารสกัดเมทานอลจากเหง้าข่าที่ความเข้มข้น 20 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ Raji (30) สาร galanolactone และ (E)-8b(17)-epoxylabd-12-ene-15,16-dial จากเหง้าข่าเป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ 9KB (31) ขณะที่สารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์นี้ (25, 26)
                   9.3  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
                                                  สารสกัดเหง้าข่าด้วยน้ำและน้ำร้อน ขนาด 0.5 มล./จานเพาะเชื้อ และเหง้าข่าสด ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และ M-45  (Rec-) (32) ทิงเจอร์ ขนาด 80 มคล./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA 98, 100 (33)

การใช้ข่ารักษาอาการแน่นจุกเสียด
1.  ใช้เหง้าสด 5 กรัม    หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม (34)
2.  กวนหัวข่าแก่ตำละเอียดกับน้ำปูนใส 2 แก้ว นำมาดื่ม (35)

การใช้ข่ารักษากลาก, เกลื้อน
1.  ใช้เหง้าสดกับเหล้าโรง หรือน้ำส้มสายชู หรือเหง้าสดตำแช่แอลกอฮอล์ทา (34)
2.  เอาข่าปอกเปลือกนิดหน่อย จุ่มเหล้าแล้วเอามาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน ทาแรงๆ ทำเช่นนี้ 4-5 วัน ก็จะหาย (36)
3.  เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบแล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อนจะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ;  ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ          2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด (37)
4.  เอาหัวข่าล้างให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่เหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 5 นาที แล้วทาที่มีผื่นคัน ;  อาการจะหายไป และถ้าแช่ค้างคืนจะใช้รักษาเกลื้อนได้ดี (38)
5.  ใช้ข่าสดตัดท่อนละ 1 นิ้ว ทุบให้แตกพอช้ำอย่าถึงกับละเอียด ใส่ถ้วยแช่เหล้าโรงประมาณ 1/4 ถ้วยชา ใช้สำลีชุบทาวันละครั้ง (39)
6.  ใช้หัวข่าแก่ๆ นำมาตำพอแหลก แล้วผสมเหล้าหรืออัลกอฮอล์ แช่ไว้ 1 คืน ใช้ทาแก้เกลื้อน หรือกลาก (40, 41)

เอกสารอ้างอิง
1.  Haginiwa J, Harada M, Morishita I.   Properties of essential oil components of aromatics and their pharmacological effect on mouse intestine.   Pharmacological studies on crud drugs. VII.   Yakugaku Zasshi 1963; 83: 624.
2.  Evans BK, James KC, Luscombe DK.   Quantitative structure-activity relationships and carminative activity.   J Pharm Sci 1978; 6: 227.
3.  Cabo J, Crespo ME, Jimenez J, Zarzvelo A.   The activity of the major components of their essential oils.   The spasmolytic activity of various aromatic plants from the province of granada.   I.   Plant Med Phytother 1986; 203: 213-8.
4.  Bennett A, Stamford IF, Tavares IA, Jacobs S, et al.   Studies on prostagglandins, the intestine and other tissues.   The Biological activity of eugenol, a major constituent of nutmeg (Myristica Fragrans).   Phytother Res 23 1988; 23: 124-30.
5.  Yamahara J, Kobayashi M, Saiki Y, Sawada T, Fujimura H.   Biologically active principles of crud drugs: Pharmacological evaluation of cholagogue substances in clove and its properties.   J Pharmacobio-Dyn 1983; 6(5): 281-6.
6.  Ross MSF, Brain KR.   An introduction to phytopharmacy.   London: Pitman Publishing Ltd., 1977, 158-176.
7.  Yu J, Fang H, Chen Y, Yao Z.   Identification of the chemical components of two Alpinia species.   Zhongyao Tongbao 1988; 13(6): 354-6.
8.  Dewhirst FE.   Eugenol, a prototype phenolic prostaglandin synthetase inhibitor, it's anti-inframmatory activity, it's effects on sheep vestebular.   Univ Rochester  1979: 191.
9. Sundari SKK, Valarmathi R, Dayabaran D, Mohamed PN. Studies on the anti-inflammatory activity of Gugula Thiktha Kashayam (GTK). Indian drugs 2001; 38(7) 380-2.
10. Venkataranganna MV, Gopumadhavan S, Mitra SK, Anturlikar SD. Anti-inflammatory activity of JCB, a polyherbal formation. Indian drugs 2000; 37(11): 543-6.
11. Matsuda H, Pongpiriyadacha Y, Morikawa T, Momotaro O, Yoshikawa M. Gastroprotective effects of phenylpropanoids from the rhizomes of Alpinia galanga in rats: structural requirements and mode of action. Eur J Pharmacol 2003; 471(1): 59-67.
12. Ogiso A, Kobayashi S. Antiulcer agents from Alpinia seeds. Japan Kokai  74 36, 817 1974; 3PP.
13. แสงจันทร์ เอี่ยมธรรมชาติ. การศึกษาผลของสมุนไพรบางชนิดในวงศ์ซิงกิเบอเรซี (Zingiberaceae) ต่อการเจริญของแบคทีเรียบางชนิด.        รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.
14. Okazaki K, Oshima S.   Antibacterial activity of higher plants.   XX.   Antimicrobial effect of essential oils.   (1).   Clove oil and eugenol.        J Pharm Soc Japan 1952; 72: 558-60.
15. Sindhuphak R, Tirnapragit A, Gindamporn A, Sindhuphuk W. The antifungal activity of some Thai plants. Thai J Hlth Resch 1992; 6(1): 9-20.
16.  ดำรง พงศ์พุทธชาติ. ผลยับยั้งของพืชสมุนไพรบางชนิดต่อเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง. รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.
17. ศมนีย์ ศุขรุ่งเรือง. การพัฒนาข่าเมื่อใช้เป็นยารักษาโรคกลาก ภาค 1 การทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อราและพิษของข่าสกัด. หนังสือรวบรวมผลงานการวิจัย โครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2525-2536.
18. Limsrimanee S, Sriratana S. Inhibitory action of some Thai herbians (medicinal plants) to fungi. Special Project for The degree of Bachelor of Pharmacy. Mahidol University, Thailand, 1983.
19. Achararit C, Punyayong W, Ruchatakomut E. Antifungal activity of some Thai medicinal plants. Special Project for The degree of Bachelor of Pharmacy. Mahidol University, Thailand, 1983.
20. Trakranrungsie N, Chatchawanchonteera A, Khunkitti W. Comparative anti-dermatophytic effect of Piper betle, Alpenia galanga and Allium ascalonicum extracts. The sixth JSPS-NRCT joint seminar: recent advances in natural medicine research, Bangkok, Thailand, Dec 2-4, 2003.
21. Chatchawanchonteera A, Suriyasathaporn W, Trakranrungsie N. Antifungal activity of Alpinia galanga and Allium ascalonicum extract.  Thai J Pharmacol 2003; 25(1): 85.
22. Ficker CE, Smith ML, Susiarti S, Leaman DJ, Irawati C, Arnason JT. Inhibition of human pathogenic fungi by members of Zingiberaceae used by the Kenyah (Indonesian Borneo). J Ethnopharmacol 2003; 85: 289-93.
23.  Jassen AM, Scheffer JJC.   Acetoxyhydroxychavicol acetate, an antifungal component of Alpinia galanga.   Planta Med 1985; 6: 507-11.
24.  Shaiphanich C, Wuthiudomlert M, Sawasdimongkol O, Saowakhont R.   Languas galanga cream for treatment of ringworm.   Report of medicinal plants for the primary health care project, 1984.
25. Bhakuni OS, Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Merotra BN.  Screening of Indian plants for biological activity. Part II.  Indian J Exp Biol 1969; 7: 250-62.
26. Dhawan BN, Patnaik GK, Rastogi RP, Singh KK, Tandon JS.  Screening of Indian plants for biological activity. VI.  Indian J Exp Biol 1977; 15: 208-19.
27. Chopra IC, Khajuria BN, Chopra CL.  Antibacterial properties of volatile principles from Alpinia galanga and Acorus calamus.  Antibiot Chemother 1957; 7: 378.
28. Qureshi S, Shah AH, Ageel AM.  Toxicity studies on Alpinia galanga and Curcuma longa.  Planta Med 1992; 58: 124-7.